กำลังโหลด

    กระทู้ที่ 0107
ข้อสอบย้อนหลังทุกวิชา
ตั้งกระทู้ใหม่

นอกเรื่องหน่อยคับบ.. อยากขอคําแนะนําในการเขียนสมการวงจรไฟฟ้า DC ในรูป Metrix อะครับบ ..ตอบ: 8, อ่าน: 7878, แท็ก: อธิบาย, ไฟฟ้า, วงจร, เมทริกซ์

คือเคยอ่านเจอมาแต่เขียนไม่เป็นอะครับ แนะนําหน่อยครับ ขอบคุณครับบ..
จขกท 02/04/49 13:24 
อันนี้ต้องเปิดตำราตอบเลย รอหน่อยนะครับ ขอไปทบทวนก่อน
เพราะว่าเคยเรียนผ่านมานานมากๆ แล้ว.. :]
นวย 03/04/49 17:06  [ 1 ] 
คับ ไม่เป้นไรคับ
จะรอคับ
ขอบคุณมากคับ
จขกท 03/04/49 17:31  [ 2 ] 
เดือนนึงพอดีเลยครับ ไม่รู้ว่านานเกินรอแล้วรึยัง
พอดีผมเพิ่งจะ "แกะ" เล็คเชอร์สมัยปี 3 สำเร็จอ่ะครับ

ในโจทย์วงจรไฟฟ้า (กระแสตรงหรือสลับก็ได้) แต่ละวงจร
อาจถามค่า v หรือ i ในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งจะพบว่า
ในระดับ ม.ปลาย เรามีวิธีหาคำตอบได้หลากหลายแบบมากๆ
และแต่ละข้อก็ต้องนั่งเล็งกันไปว่าจะค่อยๆ คำนวณจากตรงไหนดี
แต่พอเรียนในมหา'ลัย จะเริ่มสอนหลักการวิเคราะห์
เพื่อให้ทุกๆ วงจรใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกัน ไม่ต้องเล็งนาน
นั่นคือ Node Analysis และ Mesh Analysis, ให้เลือกใช้หลักใดหลักหนึ่ง
เปรียบได้ว่าเป็นการคำนวณของคอมพิวเตอร์น่ะครับ
เพราะมีวงจรไฟฟ้ามา 1 รูป ทุกคนจะตั้งสมการได้แบบเดียวกันหมด
เอาวงจรรูปนี้ใส่ลงไปในคอม มันก็ตั้งสมการและแก้สมการให้เราได้

ประโยชน์ของการใช้หลัก Node หรือ Mesh Analysis คือ
แม้วงจรจะซับซ้อนขึ้น มีอุปกรณ์ทางไฟฟ้าแบบแปลกๆ ใหม่ๆ มากขึ้น
(เช่น แหล่งกำเนิดกระแส, แหล่งกำเนิดแบบพึ่งพิง, L และ C)
ความยากในการคำนวณก็ยังเท่าเดิมอยู่ดี
และเมื่อเห็นรูปวงจรแล้วเราสามารถตั้งสมการได้ทันที ราวกับหุ่นยนต์
มันก็ง่ายดีครับ ไม่ต้องใช้การเล็งหรือคิดว่าจะเริ่มยังไงให้เสียเวลา
(แถมการเล็งเองเผลอๆ ยังทำแล้วงงกลางทาง ทำต่อไม่จบก็มีบ่อย..)

ส่วนการแปลงวงจรไฟฟ้าเป็นสมการเมตริกซ์เนี่ย
ถือว่าเป็นหลักการวิเคราะห์ขั้นสูงมากแล้วล่ะครับ
ถ้าไม่ได้เรียนไฟฟ้าโดยตรงคงจะไม่ได้เจอแน่นอน
(บังเอิญผมเรียนสาขาไฟฟ้ามาครับ ก็เลยเคยผ่านตามาบ้าง)
เป็นการลดรูป Node และ Mesh Analysis ซึ่งจะมีหลายๆ สมการ
ให้เป็นสมการเมตริกซ์เพียง 1 สมการ เพื่อให้คอมช่วยในการคิดเลข
จะว่ายากก็ยาก แต่จะว่าไม่ยากก็ไม่ยากนะ
ที่ว่ายากคือ (1) ต้องท่องสมการให้ได้ถูกต้องก่อน (สมการย๊าวยาว)
(2) ต้องรู้ว่าแต่ละเมตริกซ์มีวิธีใส่ตัวเลขลงไปยังไง, เครื่องหมายดูยังไง
แต่ถ้าถามว่าเป็นวิธีที่ดีไหม ผมว่าก็ดีนะ ถ้าเป็นแล้วจะไวดี
และอย่างว่าคือดีที่ทุกๆ วงจรสามารถคิดด้วยวิธีเดียวกันได้หมดด้วย
ทั้งวงจรกระแสตรง กระแสสลับ คิดได้เหมือนกันหมดเลยนะครับ
แต่ผมขอยกโจทย์ให้ดูเฉพาะกระแสตรงก่อนละกัน..
นวย 03/05/49 09:58  [ 3 ] 
ตัวอย่างแรก..





นวย 03/05/49 11:30  [ 4 ] 
อีกตัวอย่างนึงครับ..


นวย 03/05/49 12:09  [ 5 ] 
ตัวอย่างคร่าวๆ ก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ
ส่วนการเอาไปใช้ประโยชน์จริงๆ คงเป็นวงจรกระแสลับ
หรือไม่ก็มีขดลวดเหนี่ยวนำ, ตัวเก้บประจุอยู่ในวงจรด้วย
(ถึงจะคุ้มค่ากับการเขียนเมตริกซ์หน่อย)
เมตริกซ์ G จะเปลี่ยนชื่อเป็น Y (คือ1/Z)
และมีตัวเลขอะไรเต็มไปหมด ไม่ได้มีเฉพาะเส้นทแยงมุมหลักอีกต่อไป
และเมตริกซ์กระแสไฟฟ้า I, i จะเปลี่ยนชื่อเป็น J, j
(เพื่อไม่ให้ชนกับจำนวนจินตภาพ i ซึ่งโผล่มาในกระแสสลับ)
ก็ให้ศึกษาต่อเองละกันนะครับ :]
นวย 03/05/49 12:15  [ 6 ] 
โหเยี่ยมเลยครับ ครูนวย ขอบคุณมากนะครับ ขอ Save หน้านี้ไปเลยแล้วกัน..
จขกท 20/09/49 15:17  [ 7 ] 
ครับผม :]

ป.ล. ไม่ใช่ครูครับ เป็นแค่คนเขียนหนังสือธรรมดาๆ ครับ 😀
นวย 08/12/49 02:41  [ 8 ] 
วิธีพิมพ์สมการดูได้ที่กระทู้ 0072 ครับ      
แปะรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสส่วนตัว กรุณาใส่เลขหน้า "ความน่าจะเป็น" ใน Math E-Book .. หรือตั้งรหัสได้ ที่นี่

ทดลองพิมพ์สมการ